วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หัตถกรรมจากย่านลิเภา

ความเป็นมา

       เครื่องจักสานย่านลิเพา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด สันนิษฐานว่าเริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านตั้งแต่สมัยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า เจ้าเมืองนครได้เคยนำถวายเจ้านายในกรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่ง ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งที่ดำรงตำแหน่งพระยาสุขุมนัย วิปัตสมุนเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชได้ฟื้นฟูส่งเสริมจนงานจักสานย่านลิเภา เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นสูงในกรุงเทพมหานคร
       ต่อมา ได้มีการฟื้นฟูครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการประกวดการสานย่านลิเพา และใน พ.ศ. 2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้สอนการสานย่านลิเพาในโครงการศิลปาชีพ 

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำเครื่องจักสานย่านลิเภา


(เรียงจากซ้ายไปขวา)
1. โครงของผลิตภัณฑ์
2. กาวลาแท็กซ์
3. แล็คเกอร์
4. คัตเตอร์
5. ไม้แหลม
6. ชักเลียด
7. ย่านลิเภา

การสานย่านลิเภา




นำย่านลิเภามาปอกเปลือกให้ได้ประมาณ 3-4 เส้น เพื่อนำไปสานเป็นผลิตภัณฑ์
ลิเพา มี 2 ชนิด คือ สีดำและน้ำตาล โดยเฉพาะสีน้ำตาลจะมีอยู่ 2 แบบ คือ สีน้ำตาลอมแดง และสีน้ำตาลอมเหลือง


 

จากนั้นนำเปลือกที่ได้มาชักเลียดให้ได้ความบางตามต้องการ







ใช้มีดขูดเส้นลิเพาให้บางและเรียบเสมอกันทั้งเส้น
 




นำลิเภามาสานกับโครง
  
   
เมื่อสานและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการแล้วจะต้องขัดผิวด้วยกระดาษทราย และเก็บหรือแต่งส่วนที่ไม่ค่อยเรียบร้อยออกเสียก่อน จากนั้นจึงลงน้ำมันเคลือบผิวหรือชักเงา ให้เกิดความสวยงาม

4 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหน้าสนใจดี ลงต่อนะ ว่าแต่รูปดูไม่ได้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลงรูปใหม่แล้ว มาดูให้หน่อย

      ลบ
  2. ใช่ เนื้อหาดีแล้วครับ แต่รูปดูไม่ได้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลงรูปใหม่แล้วน่ะะ มาช่วยดูหน่อย

      ลบ